หลวงพ่อเกิด วัดสะพาน จังหวัดนครนายก

 หลวงพ่อเกิด วัดสะพาน จังหวัดนครนายก




          หลวงพ่อเกิด ท่านเกิดเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2415 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นบุตรของนายฉุย และนางพุ่ม สมพงษ์ เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 7 คน อุปสมบทเมื่อมีอายุ 21 ปีตรงกับวันที่23 พฤษภาคม พ.ศ. 2436 โดยมีหลวงพ่อวัตร วัดพิกุลแก้ว เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อดี วัดกุฏิเตี้ย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อเพ็ง วัดพระโต เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีฉายาว่า ปุณณปัญโญ ได้อยู่ศึกษากับหลวงพ่อดี ผู้มีความชำนาญด้านรุกขมูล วิปัสสนากรรมฐาน และแพทย์แผนโบราณ มีวิทยาคมอันแก่กล้ารูปหนึ่งในสมัยนั้น จากนั้นท่านได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดสะพานตลอดมา ท่านได้ธุดงค์ไปยังเมืองเขมรและมีโอกาสศึกษาเล่าเรียนวิชาจากอาจารย์ต่างๆ อีกหลายรูป

          ท่านมีใจเมตตากรุณาโดยไม่เลือกชั้นวรรณะ มีบุตรบุญธรรมมากมาย ท่านเป็นคนมองการณ์ไกลเกี่ยวกับการศึกษา ได้สร้างโรงเรียนขึ้นเพื่อประสิทธิ์ประสานวิชาให้กับกุลบุตรและกุลธิดาในละแวกนั้น ใครเจ็บไข้ได้ป่วยไม่สบาย ท่านจะสงเคราะห์รักษาให้ และยังได้ปรุงยาแก้ลมไว้แจกให้กับลูกศิษย์ของท่านอีกด้วย และท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูพิศาลธรรมประยุต ในปี พ.ศ. 2494 จาก พระมหากษัตริย์พระองค์ปัจจุบันของประเทศไทย และมีวัตถุมงคลของท่านอีกมากมาย ทั้งตะกรุด ตะกรุดโทน เหรียญรุ่นต่างๆ ตะกรุด คลอดลูกง่าย ผ้ายันต์ ผ้าประเจียด สำหรับผ้ายันต์สีขาวลงยันต์สี่ด้วยหมึกสีแดงคล้ายชาดและเขียนชื่อกำกับไว้ ลายมือของท่านสวยงามมาก ส่วนเหรียญรุ่นแรกของท่านสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2479 เหรียญรุ่นที่ 2สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2484 เหรียญรุ่นทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ สร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ. 2492 และเหรียญรุ่นสุดท้ายสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2496 ท่านถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2499

พระครูพิศาลธรรมประยุต
(เกิด ปุณณปัญโญ)
เกิด6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2415
มรณภาพ27 ธันวาคม พ.ศ. 2499
อายุ84
อุปสมบท23 พฤษภาคม พ.ศ. 2436
พรรษา63
วัดวัดสะพาน
จังหวัดนครนายก
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสะพาน
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา
          ชาติภูมิ พระครู พิศาลธรรมประยุต เดิมชื่อ เกิด นามสกุล สมพงษ์ เกิดเมื่อ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2414 ณ บ้านใกล้วัดสะพาน ตำบลอาษา อ.บ้านนา เป็นบุตร นายฉุย นางพุ่ม สมพงษ์ เมื่อเยาว์ได้เรียนหนังสือที่วัดสะพาน จนเมื่ออายุ 21 ปี ได้เข้าเป็นทหารรักษาวังอยู่ในพระนคร ประมาณ 1 เดือน จึงได้เดินทางกลับ ภูมิลำเนาประกอบอาชีพทำนา ช่วยเหลือบิดา มารดา ตามธรรมเนียมชายไทย ในยุคนั้น ท่านมีอุปนิสัยเมตตาโอบอ้อมอารีเป็นผู้ไฝ่ในธรรม มีศรัทธาอย่างแรงกล้า ที่จะบวชในบวรพระพุทธศานนามาแต่เดิม 

          อุปสมบท เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2434 อายุได้ 21 ปีได้บวชเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมา วัดสะพาน ตำบลอาษา อำเภอบ้านนา โดยมีหลวงพ่อวัตร์ วัดพิกุลแก้ว เป็นพระอุปปัชฌา หลวงพ่อดี วัดกุฎีเตี้ย เป็นพระกรรมวาจาจารย์และพระอาจารย์ เพ็ง วัดพระโตเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้นารมฉายา "ปุณณปัญโญ"ศึกษาเล่าเรียน อักขระขอมโบราณ ท่องบ่นสวดมนต์ภาวนา ฝึกฝนเจริญวิปัสนาและธุดงควัตร จากพระอุปัชฌาย์และพระอาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษมีชื่อเสียงในยุคนั้น 

          การบริหารและการปกครอง พรรษาที่ 8 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดสะพาน พรรษาที่27 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลอาษา พรรษาที่ 29 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ วันที่ 5 ธันวาคม 2494 อายุได้ 80 ปี พรรษาที่ 59 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์นามพระครูพิศาลธรรมประยุตและดำรงสมณศักดิ์ จนมรณภาพ 

          อุปนิสัย หลวงพ่อเป็นพระผู้มีจิตใจโอบอ้อมอารี มีเมตตา ต่อบุคคลทั่วไป แฝงด้วยความเด็ดเดี่ยว อุตสาหะวิริยะ ให้ความอนุเคราะห์แก่ญาติโยมเสมอกัน ดำรงตนอย่างสมณรูปไม่ยินดียินร้ายในลาภยศ ไม่สนทรัพย์สิ่งของ เคร่งครัด ในธรรมวินัยและศิลาจารย์วัตรงดงาม ปฏิบัติสมณกิจไม่ด่างพร้อย สงเคราะผู้อื่น เป็นนิจ ไม่คุย ไม่โอ้อวดในคุณวิเศษของตน เป็นที่เคารพนับถือแก่ชาวบ้าน ทั้งใกล้ใกล คุณูประการในบวรพุทธศาสนา 
         
          การสร้างวัตถุมงคล สร้างวัตถุมงคล เช่นเหรียญรูปไข่ "พิมพ์หน้าแก่" และหน้าหนุ่ม" เพื่อหาทุนสร้างโรงเรียนวัดสะพาน เมื่อปี พ.ศ.2479 โดยทำพิธีปลุกเสกเพียงองค์เดียว ในวันเสาร์ห้าและในห้วงสงครามอินโดจีน มีการสร้างกันมาอีกหลายรุ่น ทั้งภาพถ่าย,แหวน,ตระกรุด ผ้ายันต์ ต่างมี ประสบการณ์ในด้านแค้วคลาดคุ้มครองพยันตราย เมตตามหานิยม ความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์เป็นที่ประจักและเชื่อถือ แสวงหาของชาวบ้าน ตลอดจนบุคคลทั่วไป เหรียญรูปเหมือนของท่านทุกพิมพ์ จัดว่าเป็นเหรียญ เกจิอาจารย์อันดับหนึ่งตลอดการของจังหวัดนครนายก หาได้ยากยิ่ง มีของปลอมทำเลียนแบบมากมาย นอกจากนี้ยังเมตตาปลุกเสกวัตถุมงคล ให้กับวัดอื่นๆ ที่มีชื่อเสียงก็คือ ปลุกเสกรูปหล่อโบราณของหลวงพ่อยอด วัดหนองปลาหมอ ซึ่งมีค่านิยมและเสาะแสวงหาของชาวจังหวัดนครนายก สระบุรี และบุคคลทั่วไปเช่นเดียวกัน จากการที่หลวงพ่อเกิด เป็นอุปัชฌาย์ ตลอดระยะ 35 ปี จึงมีผู้เคารพเลื่อมใสฝากกุลบุตรอุปสมบทจากท่าน ประมาณ 4,000 คน ศิษยานุศิษสืบทอดวัตรปฏิบัติจนมีชื่อเสียงต่อมาได้แก่ พระครูอภิรัตน์วรคุณ (ยอด)วัดพิกุลแก้ว,พระครูภัทรกิจโกศล(ภู) วัดช้าง, พระครูสุนทรศิลาพิวัฒน์(ชม)วัดท่าทราย อดีตเจ้าคณะอำเภอปัจจุบันที่ ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอบ้านนา 

          มรณภาพ หลวงพ่อเกิด วัดสะพาน มรณะภาพเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2499 ศิริอายุได้ 85 ปี 64 พรรษา หลังจากที่หลวงพ่อมรณภาพแล้วในปี พ.ศ.2506 ลูกศิษย์และชาวบ้านที่เคารพนับถือได้หล่อรูปเหมือนเพื่อ สักการะและระลึกถึงขอพร ประดิษฐานไว้ที่มณฑป วัดสะพาน ปรากฏ ความศักดิ์สิทธิ์มาถึงทุกวันนี้